หน่วยที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต
หน่วยที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต
วิดิโอประกอบการเรียนรู้
3.1 STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต
การแก้ปัญหาการทุจริต เป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกภาคส่วนของประเทศ ต้องมีส่วนร่วม เริ่มจากที่แต่ละคนสามารถคิดแยกแยะได้ว่าอะไรคือ “ผลประโยชน์ส่วนตน” อะไรคือ “ผลประโยชน์ส่วนรวม” จนเกิด “ความละอาย”ในจิตใจที่จะไม่กระทำการใดที่เป็นส่วนหนึ่งของการทุจริต คำถามต่อมาคือแต่ละคนจะรักษา “ความละอาย”ดังกล่าวให้ต่อเนื่องยั่งยืนที่จะไม่กระทำทุจริต ไม่ยอมรับการทุจริตและมีส่วนร่วมในการ “ด้านการทุจริต”อย่างสร้างสรรคํได้อย่างไร
ความหมาย STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต
จิตพอเพียงต้านการทุจริต หมายถึง การมีจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงที่จะไม่กระทำการทุจริต รวมทั้งต่อด้านการทุจริตด้วย (ความหมายดังกล่าว ที่ประชุมคณะทำงานประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ ด้านการป้องกันการทุจริต หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti - Corruption Education) ร่วมกันนิยามขึ้น)
3.2 องค์ประกอบการสร้างจิตพอเพียงด้านการทุจริต
หน่วยงานทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประกอบหลักการด้านการทุจริตต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานคิดจิตพอเพียงด้านการทุจริตให้เป็นพื้นฐานความคิดของแต่ละบุคคล โดยรองศาสตราจารย์ดร.มาณีไชยธีรานุวัฒคิริ ได้คิดด้นโมเดล “STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต”
เมื่อปี พ.ศ. 2560 ให้เกิดขึ้นในจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งมีองค์ประกอบของ STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริตดังนี้
S (Sufficient) : ความพอเพียง
T (Transparent) : ความโปร่งใส
R (Realize) : ความตื่นรู้
O (Onward) : มุ่งไปข้างหน้า
N (Knowledge) : ความรู้
G (Generosity) : ความเอื้ออาทร
แผนภาพ “การประยุกต์หลักความพอเพียง ด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต”
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบ ใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการ นำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดย เฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียรพยายามมีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับความเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
คำนิยาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักจำง่ายๆ คือประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 เงื่อนไข ดังนี้
ห่วงที่ 1. ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ห่วงที่ 2. ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3. ภูมิคุ้มกัน
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคต
โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้
เงื่อนไข 1. เงื่อนไขความรู้
องค์ประกอบในการทำงานทุกอย่างต้องเริ่มต้นจากความรู้ ซึ่งต้องรู้ลึก รู้กว้าง และสามารถนำวิชาการต่างๆนั้นมาวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง เพราะหากไม่มีความรู้ การนำไปปฏิบัติอาจมีปัญหา
เงื่อนไข 2. เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ใบกิจกรรมที่ 3.1 ให้นักเรียนทำแผนผังความคิดลงใส่สมุด เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และให้เขียนบอกด้วยว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง