หน่วยที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
หน่วยที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
วิดิโอประกอบการเรียนรู้
2.1 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต เป็นการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพสังคม โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาในทุกช่วงวัย เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริตและปลูกผิงความพอเพียง มีวินัย ชื่อสัตย์สุจริต ความเป็นพลเมืองดี มีจิตสาธารณะ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่เกิดพฤติกรรมที่ละอายต่อการกระทำความผิด ดังนั้น เราต้องแยกแยะให้ได้ว่า พฤติกรรมใดที่จะต้องมีความละอายต่อการทุจริตและพฤติกรรมใดที่ไม่ควรทนต่อการทุจริตแล้วนำไปปฏิบัติ เพื่อให้การทุจริตลดลงจากสังคมปัจจุบัน
ความหมายของความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
คำว่า “ความละอาย” และ “ความไม่ทน” ได้มีการให้ความหมายไว้ ดังนี้
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554ให้ความหมายของคำว่า ละอาย หมายถึง การรู้สึกอายที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด ละอายใจ
ความละอาย เป็นความละอายและความเกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เพราะเห็นถึงโทษหรือผลกระทบที่จะได้รับจากการกระทำนั้น จึงไม่กล้าที่จะกระทำ ทำให้ตนเองไม่หลงทำในสิ่งที่ผิดนั่นคือ มีความละอายใจ ละอายต่อการทำผิด
ความไม่ทนต่อการทุจริต หมายถึง การแสดงออกต่อการกระทำที่เกิดขึ้นกับตนเอง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือสังคมในลักษณะที่ไม่ยินยอม ไม่ยอมรับในพฤติกรรมที่เป็นการประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดีไม่ชื่อตรง คดโกง ฉ้อโกง
ความสำคัญของความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
ปัจจุบันปัญหาการทุจริตในประเทศไทย มีแนวโน้มหนักหน่วง และรุนแรงมากขึ้น การทุจริตมีรากฐานมาจากทัศนคติของผู้คนในสังคม ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้อง และเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ จนเกิดการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้น การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตจึงเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ วัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งในทางคุณธรรมของสังคม จำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรมให้ผู้คนในสังคมเกิดความละอาย และความไม่ทนต่อการทุจริต เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสังคมไทยที่ยั่งยืน ในฐานะที่ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อพบพฤติกรรมที่เป็นการทุจริต ผู้เรียนควรจะเป็นผู้ที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความไม่ทนต่อการทุจริตได้ เช่น กรณีตัวอย่างต่อไปนี้
1) เมื่อพบว่าเพื่อนปฏิบัติตนเป็นผู้ทุจริต ต้องแจ้งครู ผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เพื่อนกระทำผิด
2) เมื่อพบบุคคลอื่น ๆ ไม่ปฏิบัติตนในการเข้าแถวรับบริการต่าง ๆ ในสังคม ควรแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยวาจาที่สุภาพ
ใบกิจกรรมที่ 2.1 ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วทำแผนผังความคิดในหัวข้อดังนี้
หัวเรื่องหลัก เด็กดีไม่ลอกข้อสอบ
ผลดีการลอกข้อสอบ
ผลเสียการลอกข้อสอบ
เหตุการที่ไม่ควรลอกข้อสอบ
2.2 การปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ของสถานศึกษา ชุมชน สังคม
1.การทำงานที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่ครูได้มอบหมายให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และนำเสนอผลการเรียนรู้ตามระยะเวลาที่กำหนด
ตัวอย่าง เช่น ครูมอบหมายให้ผู้เรียนทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย และสรุปเป็นรายสัปดาห์ แล้วนำมาเสนอในกลุ่มใหญ่
2.การทำความสะอาดสถานที่พบกลุ่ม หมายถึง การผลัดเปลี่ยนกันทำความสะอาดของสถานที่พบกลุ่มของผู้เรียน ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจกำหนดให้ทำความสะอาดในพื้นที่บริเวณต่าง ๆ ของสถานที่พบกลุ่ม เหตุผลของการให้ทำความสะอาดสถานที่พบกลุ่ม เป็นการฝึกการเสียสละให้ส่วนรวม มีความรับผิดชอบ รักษาความสะอาดของสถานที่พบกลุ่ม
3.การสอบ หมายถึง การวัดผลสัมฤทธทางการศึกษา ซึ่งมีข้อปฏิบัติ กฎ ระเบียบของผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติในการสอบดังต่อไปนี้
การแต่งกาย ล้าเป็นผู้เรียนต้องแต่งเครื่องแบบผู้เรียนแล้วแต่กรณี ถ้าเป็นผู้เข้าสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยมที่สถานศึกษากำหนด
ไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเริ่มสอบ ผู้ใดไปไม่ทันเวลา เมื่อลงมือสอบวิชาใดแล้วไม่มีสิทธิเข้าสอบในวิชานั้น
ไม่เข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต
ไม่นำเอกสาร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ เข้าไป ในห้องสอบ
นั่งตามที่กำหนดให้ จะเปลี่ยนที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้
ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการสอบ และคำสั่งของผู้กำกับการสอบ โดยไม่ทุจริตในการสอบ
มิให้ผู้เข้าสอบคนอื่นคัดลอกคำตอบของตน รวมทั้งไม่พูดคุยกับผู้ใดในเวลาสอบ เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีเหตุจำเป็นให้แจ้งต่อผู้กำกับการสอบ
ประพฤติตนเป็นสุภาพชน
ผู้ใดสอบเสร็จก่อน ผู้นั้นต้องออกไปห่างจากห้องสอบ และไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผู้ที่ยังสอบอยู่
ไม่นำกระดาษคำตอบที่ผู้กำกับการสอบแจกให้ออกไปจากห้องสอบ
4.การแต่งกาย เป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งแรกที่คนทั่วไปพบเห็น การแต่งกายที่ดีจะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ เกิดความประทับใจ มีความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่พบเห็น แต่ทางตรงกันข้ามหากแต่งกายไม่เรียบร้อยไม่ถูกกาลเทศะก็อาจจะถูกมองในแง่ลบได้โดยผู้เรียนควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม
5.กิจกรรมผู้เรียน (ในสถานศึกษา ชุมชน สังคม) หมายถึง วิธีการ กิจกรรมที่ครู หรือผู้เกี่ยวข้องนำมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การ'ฟิกปฏิบัติให้คิดได้ คิดเป็น ทำเป็น เพื่อให้เกิดการใฝ่รู้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย เช่น จัดให้ผู้เรียนไปค้นคว้าศึกษานอกสถานที่ เป็นด้น
6.การเข้าแถวรับบริการ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมาย
“บริการ” หมายถึง ปฏิบัติรับใช้ หรือให้ความสะดวกต่าง ๆ การให้บริการเป็นงานที่มีผู้คอยช่วยอำนวยความสะดวกซึ่งก็คือ“ผู้ให้บริการ” และผู้มารับความสะดวกก็คือ “ผู้มารับบริการ”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายคำว่า “เข้าแถว” หมายถึง ยืนเรียงต่อกันเป็นแนว เช่น เข้าแถวหน้ากระดาน เข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง
ดังนั้น การเข้าแถวรับบริการ จึงหมายถึง การยืนเรียงต่อกันเป็นแถวตอนเรียงหนึ่งของผู้รับบริการ เพื่อรับบริการ หรือความสะดวกอย่างหนึ่งอย่างใดจากผู้ให้บริการ เช่น เข้าแถวซื้ออาหาร ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง จ่ายเงินชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าตามเคาน์เตอร์ให้บริการ เป็นต้น
ใบกิจกรรมที่ 2.2 ให้นักเรียนหากฏระเบียบของห้องเรียน (ห้องเรียนใดก็ได้ภายในโรงเรียน) แล้วเขียนใส่สมุดพร้อมทั้งบอกเหตุผลว่าทำไมต้องทำตามกฏระเบียบ ณ ห้องนั้นๆด้วย